วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 8


                บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

       ประจำวันศุกร์ที่ 6  มีนาคมพ.ศ. 2558   

นำเสนอบทความ


เรื่อง   ทำไมถึงสอนคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก โดย นางสาววราภรณ์ แทนคำ

สรุป เป็นการกระตุ้นสมองซีกขวาของเด็กให้ทำงานได้ดีขึ้น และ เด็กก็จะสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้อย่างไม่ต้องฝึกฝน ทำให้เด็กมีการเรียนรู้เกิดขึ้นได้

เรื่อง คณิตศาสตร์เรียนอย่างไรให้สนุกและเข้าใจ โดย นางสาวรัตนาภรณ์ คงกะพันธุ์

สรุป มีเทคนิคในการสอน เช่น เพลง เกม กิจกรรมต่างๆ เป็นต้น ครูให้เวลา 20 นาที ให้เด็กทำการบ้านก่อนเข้าเรียน การทำเช่นนี้ส่งผลให้เด็กไม่เกลียดคณิตศาสตร์

ความรู้ที่ได้รับ

- แต่ละกลุ่มนำเสนอการจัดรูปแบบการสอนในแบบต่างๆ


   รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการ

เป็นการสอนแบบให้ความสำคัญกับเด็กส่งเสริมให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยที่เด็กหรือครูร่วมกันกำหนดเรื่องที่ต้องการเรียนรู้

  มีกิจกรรมหลักในโครงการ 4 กิจกรรม
- การสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน
- ทัศนศึกษา
- สืบค้น
- นำเสนอผลงาน

การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน จะมีพื้นฐาน 3 ข้อ ของการเรียนรู้ คือ
1. การทำให้เกิดการตื่นตัวผ่อนคลาย ก็คือการสร้างบรรยากาศให้เด็กไม่รู้สึกเหือนถูกกดกันแต่มีความท้าทายชวนให้ค้นคว้าหาคำตอบ
2.การทำให้เด็กจดจ่อในสิ่งเดียวกัน ต้องมีการใช้สื่อหลายรูปแบบ รวมทั้งการยกปรากฎการณ์จริงมาเป็นตัวอย่างและมีการเปรียบเทียบให้เห็นภาพ มีการเชื่อมโยงความรู้หลายๆอย่าง
3.ทำให้เกิดความรู้จากการกระทำด้วยตนเอง ให้เด็กลงมือทดลอง ประดิษฐ์หรือได้เล่าประสบการณ์จริงที่เกี่ยวข้องกับเด็ก


    การจัดการเรียนรู้แบบ STEM
จะเน้นให้เด็กแก้ปัญหาโดยใช้องค์ความรู้และทักษะกระบวนการต่างๆ มาสร้างสรรค์ออกแบบผลงานหรือออกแบบวิธีการภายใต้ข้อจำกัดหรือเงื่อนไขที่กำหนดโดยจะมีรายละเอียดที่ปรับเพื่อให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กในช่วงวัย

การจัดการเรียนรู้แบบมอนเตสเซอรี่
ความสำคัญจะอยู่ที่อุปกรณ์การสอนหรือการเรียนรู้ ทำให้เด็กได้สัมผัสด้วยมือของตนเอง อุปกรณ์จะเป็นองค์ประกอบหลักของกิจกรรมที่ทำให้เด็กเรียนรู้และแก้ไขถูกต้องด้วยตนเอง จะเน้นการเรียนรู้เป็นลำดับขั้นตอนที่ไม่ต้องการให้เด็กลองผิดลองถูก


การเรียนรู้แบบบูรณาการ ด้วย Storyline Approach
เป็นการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการ ซึ่งมีความหลากหลายทั้งรูปแบบ ความยากง่าย ผู้เรียนสามารถแสดงความสามารถตามผู้ศักยภาพของตนเองเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พัฒนาวุฒิภาวะและทักษะทางสังคม




กิจกรรม


เกณฑ์การแบ่งกลุ่ม
1 - 5       กลุ่มสตอเบอรี

 6 - 10     กลุ่มเชอรี
11 - 15   กลุ่มแอปเปิล
15 - 20   กลุ่มลิ้นจี่
21 - 25   กลุ่มมะม่วง

วิธีดำเนินการ
-นำป้ายชื่อมาติด
-พิจารณาเกณฑ์การแบ่ง
-เลือกกลุ่ม
-นับจำนวนคนทั้งหมดที่มาเรียน
-ขนับจำนวนป้ายทั้งหมด
-นำเสนอด้วยภาพ

 เพลงเท่ากัน-ไม่เท่ากัน

                                                         ช้างมี 4 ขา                ม้ามี 4 ขา               
  คนเรานั้นหนา           2 ขาต่างกัน              
         ช้างม้ามี 4 ขา           4 ขาเท่ากัน (ซ้ำ)               
           แต่กับคนนั้น             ไม่เทากันเอย 


เพลง ขวดห้าใบ


ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)

เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหนื่อยขวดกี่ใบวางอยู่บนกำแพง ลดเหลือสี่
(ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือขวดหนึ่งใบ)
ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง จะทำอย่างไร


เพลง จับปู


  1 2 3 4 5       จับปูมาได้ 1 ตัว
                6 7 8 9 10    ปูมันหนีบฉันต้องส่ายหัว
กลัว ฉันกลัว ฉันกลัว    ปูมันหนีบฉันที่หัวแม่มือ
ลา  ล้า  ลา 


วิธีการสอน
- อาจารย์มีการใช้คำถามกับนักศึกษา ให้ช่วยกันตอบ
- ใช้สื่อ Power Point ในการสอน

       

ประเมินสภาพในห้องเรียน
มีความสะอาด เรียบร้อยดี อุปกรณ์ เทคโนโลยีครบครัน 


ประเมินตนเอง
 การตั้งใจฟังคำถาม ตั้งใจเรียน และ จดบันทึก


ประเมินเพื่อน   
มาเรียนตรงเวลาเพื่อนบางคนแต่งกายผิดระเบีบย พูดคุยกันบ่อยเมื่อมีข้อสงสัยใดๆจะถามในทันทีทันใด รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น


 ประเมินอาจารย์  
- อาจารย์แตงกายเหมาะสม เข้าสอนตรงต่อเวลา อาจารย์มีวิธีการสอนที่เข้าใจง่าย อาจารย์อารมณ์ดี ใจดี




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น